ขนส่งสายใต้ เมทัลชีท ขนส่งสายใต้ เมทัลชีท : แผ่นเดียว ก […]
Category Archives: สถานีขนส่งสายใต้
สถานีขนส่งสายใต้
สถานีขนส่งสายใต้ is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
สถานีขนส่งสายใต้ เป็นสถานีขนส่งแห่งหนึ่ง ในเขตตลิ่งชัน
เขตตลิ่งชัน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่รอบนอกทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเรียกว่า “ฝั่งธนบุรี” สภาพโดยทั่วไปเป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย แต่ปัจจุบัน พื้นที่เกษตรกรรมกำลังลดลงไปมากจากการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการสร้างเส้นทางคมนาคม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของฝั่งธนบุรี และมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) มีแนวกึ่งกลางคลองมหาสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) เขตบางพลัด และเขตบางกอกน้อย มีคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ และคลองบางขุนศรีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตภาษีเจริญและเขตบางแค มีคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตทวีวัฒนา มีถนนกาญจนาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
เขตตลิ่งชันเดิมเป็นอำเภอเก่าแก่อยู่ในพื้นที่การปกครองของจังหวัดธนบุรีมีชื่อว่า อำเภอตลิ่งชัน ตั้งที่ว่าการอยู่บริเวณคลองบางกอกน้อย ตำบลบางบำหรุ ท้องที่อำเภอบางกอกน้อย ต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ปากคลองวัดไก่เตี้ย ริมคลองบางกอกน้อย และในปี พ.ศ. 2457 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ที่ริมทางรถไฟสายใต้ ตำบลคลองชักพระ
ตำบลคลองชักพระเป็นตำบลเดียวของอำเภอตลิ่งชันที่อยู่ในเขตเทศบาลนครธนบุรี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479) แต่เนื่องจากอำเภอตลิ่งชันมีอาณาเขตกว้างขวางและมีประชากรเพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศจัดตั้งตำบลทวีวัฒนาแยกจากตำบลศาลาธรรมสพน์ในปี พ.ศ. 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลตลิ่งชันครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลิ่งชันในปี พ.ศ. 2504 รวมทั้งตั้งตำบลบางพรมขึ้นโดยแยกพื้นที่จากตำบลบางเชือกหนังในปี พ.ศ. 2512 และตั้งตำบลฉิมพลีแยกพื้นที่จากตำบลตลิ่งชันในปี พ.ศ. 2513 อำเภอตลิ่งชันจึงแบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล และประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง[2]
ภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและต่อมาเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยุบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ อำเภอตลิ่งชันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตตลิ่งชัน ส่วนตำบลต่าง ๆ ก็เปลี่ยนฐานะเป็นแขวงตามไปด้วย จนกระทั่งในในปี พ.ศ. 2541 พื้นที่เขตทางฟากตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษกได้ถูกแบ่งและจัดตั้งเป็นเขตใหม่ คือเขตทวีวัฒนา ทุกวันนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตก็ยังคงเป็นพื้นที่เกษตร ได้แก่ สวนผัก สวนผลไม้ โดยผลไม้ที่เป็นผลไม้ดั้งเดิมของที่นี่ คือ มะเฟือง[3] แต่ในปัจจุบันก็เริ่มที่จะมีการสร้างบ้านจัดสรรเข้ามาด้วย แต่ผู้คนบางส่วนก็ยังสัญจรไปมาทางน้ำโดยการใช้เรืออยู่ [4]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตตลิ่งชันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
คลองชักพระ | Khlong Chak Phra |
1.251
|
10,516
|
4,588
|
8,406.07
|
ตลิ่งชัน | Taling Chan |
5.183
|
25,007
|
11,329
|
4,824.81
|
ฉิมพลี | Chimphli |
7.338
|
24,336
|
9,410
|
3,316.43
|
บางพรม | Bang Phrom |
4.253
|
13,758
|
4,761
|
3,234.89
|
บางระมาด | Bang Ramat |
2.915
|
19,570
|
7,818
|
6,713.55
|
บางเชือกหนัง | Bang Chueak Nang |
8.539
|
11,860
|
4,232
|
1,388.92
|
ทั้งหมด |
29.479
|
105,047
|
42,138
|
3,563.45
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตตลิ่งชัน[5] |
||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 123,477 | ไม่ทราบ |
2536 | 130,425 | +6,948 |
2537 | 135,100 | +4,675 |
2538 | 137,827 | +2,727 |
2539 | 142,090 | +4,263 |
2540 | 145,490 | +3,400 |
2541 | 98,550 | แบ่งเขต |
2542 | 99,695 | +1,145 |
2543 | 100,509 | +814 |
2544 | 101,600 | +1,091 |
2545 | 103,020 | +1,420 |
2546 | 104,254 | +1,234 |
2547 | 104,680 | +426 |
2548 | 105,730 | +1,150 |
2549 | 106,811 | +1,081 |
2550 | 107,812 | +1,001 |
2551 | 107,513 | -299 |
2552 | 106,963 | -550 |
2553 | 106,753 | -210 |
2554 | 106,786 | +33 |
2555 | 106,532 | -254 |
2556 | 106,192 | -340 |
2557 | 105,857 | -335 |
2558 | 105,613 | -244 |
2559 | 105,289 | -324 |
2560 | 105,299 | +10 |
2561 | 105,047 | -252 |
การคมนาคม[แก้]
ทางบก[แก้]
ปัจจุบันในพื้นที่เขตตลิ่งชันมีทางสายหลักอยู่ 5 สาย คือ ถนนบรมราชชนนี ถนนราชพฤกษ์ ถนนพุทธมณฑล สาย 1 ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 และ ทางพิเศษศรีรัช
ส่วนทางสายรองนั้นมีอยู่ทั่วไป และเข้าถึงพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขต ได้แก่ ถนนฉิมพลี ถนนทุ่งมังกร ถนนสวนผัก ถนนบางพรม ถนนชักพระ ถนนบางระมาด ถนนบางเชือกหนัง ถนนแก้วเงินทอง ถนนชัยพฤกษ์ ถนนปากน้ำฝั่งเหนือ และถนนปากน้ำกระโจมทอง ซึ่งตามริมถนนทั้งสายหลักและรองดังกล่าวก็ยังมีตรอกซอกซอยแยกย่อยออกไปอีก
ทางน้ำ[แก้]
- คลองบางกอกน้อย
- คลองมหาสวัสดิ์
- คลองชักพระ
- คลองบางระมาด
- คลองบางพรม
- คลองบางน้อย
- คลองบางเชือกหนัง
- คลองมอญ
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สถานีขนส่งสายใต้
- เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
- คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 2
- ตลาดน้ำสองคลอง วัดตลิ่งชัน
- ตลาดน้ำตลิ่งชัน
- ตลาดน้ำคลองลัดมะยม
- สวนน้ำตลิ่งชัน[6]
- สวนมณฑลภิรมย์