Category Archives: เขตบางแค

เขตบางแค

เขตบางแค is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the focus keyword name in category.

เขตบางแค Khet Bang Khae is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.

เขตบางแค

เขตบางแค เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมดีทางฝั่งธนบุรี ปัจจุบันเขตบางแคเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตคลองสามวา[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งธนบุรี มีอาณาบริเวณติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตทวีวัฒนาและเขตตลิ่งชัน มีคลองทวีวัฒนา และคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตภาษีเจริญ มีคลองลัดตาเหนียว คลองบางไผ่ คลองครูเสงี่ยม คลองบางแวก และคลองพระยาราชมนตรีเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางบอน มีคลองบางโคลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตหนองแขม มีแนวขอบทางถนนบางบอน 3 ซอยเพชรเกษม 69 (อินทาปัจ) และคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต[แก้]

“บางแค” มาจากคำว่า “บาง” หมายถึงทางน้ำเล็ก ๆ หรือทางน้ำที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล และยังหมายถึงหมู่บ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน ส่วนคำว่า “แค” นั้น ในสมัยก่อนอาจมีชาวบ้านชาวสวนปลูกต้นแคไว้เป็นจำนวนมาก หรืออาจเป็นเพราะว่าในอดีตมีต้นแคขึ้นอยู่ทั่วไปในท้องที่นี้ จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันสำนักงานเขตบางแคจึงได้มีนโยบายปลูกต้นแคตามโครงการสร้างเอกลักษณ์เมืองด้วย

ประวัติ[แก้]

เขตบางแคในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอหนองแขม จังหวัดธนบุรี มีชื่อว่า ตำบลหลักหนึ่ง ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ตำบลบางแค[2] ตามชื่อคลองสายหนึ่งที่ไหลผ่านพื้นที่และหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมคลองนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 สำนักนายกรัฐมนตรีได้ยุบอำเภอหนองแขมมาขึ้นกับอำเภอภาษีเจริญ[3] แต่ในช่วงแรกตำบลบางแคยังคงเป็นท้องที่ปกครองของกิ่งอำเภอหนองแขมอยู่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2473 ทางการจึงโอนตำบลนี้มาขึ้นกับอำเภอภาษีเจริญโดยตรง เนื่องจากอยู่ใกล้กันและติดต่อกันได้สะดวกกว่า[4]

เมื่อมีผู้คนย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2498 กระทรวงมหาดไทยจึงจัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วน เพื่อประโยชน์ในการทำนุบำรุงท้องถิ่น[5] และขยายเขตออกไปในปี พ.ศ. 2501[6] และ พ.ศ. 2513[7]

จนกระทั่งมีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีในปี พ.ศ. 2514[8] และเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515[9] โดยให้ยุบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ ตำบลบางแคจึงเปลี่ยนฐานะเป็น แขวงบางแค ขึ้นกับเขตภาษีเจริญ ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น ในปี พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ขึ้นเพื่อให้บริการประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในแขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่[10]

ในที่สุดจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย แบ่งพื้นที่ในความดูแลของสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 รวมกับพื้นที่แขวงหลักสองของสำนักงานเขตหนองแขมมาจัดตั้งเป็น เขตบางแค เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงแนวเขตและพื้นที่แขวงทั้งสี่ของเขตบางแคใหม่ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[11][12]

และเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงทั้งสี่ในเขตบางแคใหม่ เพื่อความสะดวกและความชัดเจนแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยประกาศฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552[13]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 แขวง คือ

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)
บางแค Bang Khae
7.250
39,094
25,190
5,392.27
บางแคเหนือ Bang Khae Nuea
13.203
60,306
28,113
4,567.59
บางไผ่ Bang Phai
14.753
40,277
14,212
2,730.08
หลักสอง Lak Song
9.250
53,638
24,250
5,798.70
ทั้งหมด
44.456
193,315
91,765
4,348.45

ประชากร[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ทางสายหลักในพื้นที่เขตบางแค ได้แก่

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่

Call Now Button