คู้ฝั่งเหนือ แผ่นใส กระจก : แผ่นเดียว ก็ขาย คู้ฝั่งเหนื […]
Category Archives: แขวงคู้ฝั่งเหนือ
แขวงคู้ฝั่งเหนือ
แขวงคู้ฝั่งเหนือ is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
แขวงคู้ฝั่งเหนือ เป็นแขวงหนึ่งใน 8 แขวงของเขตหนองจอก
เขตหนองจอก เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นท้องทุ่งและเกษตรกรรม มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตหนองจอกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีแนวเส้นตรงจากคลองเก้าไปบรรจบคลองสิบสี่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางน้ำเปรี้ยวและอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองสิบสี่ แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดฉะเชิงเทรา คลองแสนแสบ คลองบึงทองหลาง (บุน้ำรักษ์) คลองนครเนื่องเขต และคลองหลวงแพ่งเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง มีคลองลำตาแฝง คลองลำตาอิน คลองกระทุ่มล้ม คลองลำพะอง คลองลำมะขาม และคลองลำกอไผ่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตมีนบุรีและเขตคลองสามวา มีคลองลำนกแขวก คลองลำต้นไทร คลองลำหินฝั่งใต้ คลองแยกคลองลำหินฝั่งใต้ ลำรางข้างซอยราษฎร์อุทิศ 70 คลองแสนแสบ คลองลัดตาเตี้ย คลองแบนชะโด และคลองเก้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
เดิมเขตหนองจอกมีฐานะเป็น อำเภอหนองจอก ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440[3] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลุ่มผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานพวกแรก ๆ เป็นชาวไทยมุสลิมที่อพยพมาจากหัวเมืองภาคใต้ โดยตั้งชุมชนตามแนวคลองแสนแสบซึ่งได้มีการขุดลอกขยายคลองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] รวมทั้งชาวมอญ จีน ลาว เขมร และอีก 5 ปีต่อมา (พ.ศ. 2445) อำเภอหนองจอกก็ได้มาขึ้นอยู่กับเมืองมีนบุรีซึ่งเป็นหัวเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ในมณฑลกรุงเทพ[4]
ต่อมา เกิดสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของทางราชการ ใน พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีจึงถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดพระนคร ส่วนอำเภอหนองจอกถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดฉะเชิงเทรา[5] แต่เนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทางและการติดต่อระหว่างกัน ในปีถัดมา (พ.ศ. 2475) ทางราชการจึงได้ย้ายอำเภอหนองจอกมาเป็นเขตการปกครองในจังหวัดพระนคร[6]
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2514 มีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) ก็มีประกาศคณะปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล[7] อำเภอหนองจอกจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตหนองจอก นับแต่นั้น
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตหนองจอกแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 8 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
กระทุ่มราย | Krathum Rai |
38.132
|
38,983
|
15,799
|
1,022.31
|
หนองจอก | Nong Chok |
29.992
|
21,773
|
7,653
|
725.96
|
คลองสิบ | Khlong Sip |
30.849
|
9,022
|
2,280
|
292.45
|
คลองสิบสอง | Khlong Sip Song |
38.867
|
11,365
|
4,158
|
292.40
|
โคกแฝด | Khok Faet |
22.524
|
33,790
|
11,635
|
1,500.17
|
คู้ฝั่งเหนือ | Khu Fang Nuea |
17.750
|
17,763
|
6,056
|
1,000.73
|
ลำผักชี | Lam Phak Chi |
33.358
|
30,740
|
12,767
|
921.51
|
ลำต้อยติ่ง | Lam Toiting |
24.789
|
9,554
|
2,862
|
385.41
|
ทั้งหมด |
236.261
|
172,990
|
63,210
|
732.19
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตหนองจอก[8] |
||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 64,175 | ไม่ทราบ |
2536 | 65,668 | +1,493 |
2537 | 68,391 | +2,723 |
2538 | 70,801 | +2,410 |
2539 | 75,198 | +4,397 |
2540 | 79,585 | +4,387 |
2541 | 84,481 | +4,896 |
2542 | 88,095 | +3,614 |
2543 | 92,180 | +4,085 |
2544 | 97,381 | +5,201 |
2545 | 102,564 | +5,183 |
2546 | 109,789 | +7,225 |
2547 | 117,385 | +7,596 |
2548 | 126,126 | +8,741 |
2549 | 133,415 | +7,289 |
2550 | 138,667 | +5,252 |
2551 | 143,675 | +5,008 |
2552 | 147,668 | +3,993 |
2553 | 151,292 | +3,624 |
2554 | 154,371 | +3,079 |
2555 | 157,224 | +2,853 |
2556 | 159,962 | +2,738 |
2557 | 162,598 | +2,636 |
2558 | 165,281 | +2,683 |
2559 | 167,844 | +2,563 |
2560 | 170,643 | +2,799 |
2561 | 172,990 | +2,347 |
การคมนาคม[แก้]
เส้นทางถนนสายหลักในพื้นที่เขตหนองจอก ได้แก่
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
นอกจากนั้นยังมีลำคลองสายต่างๆ เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญมาแต่โบราณอีกด้วย เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์แต่เดิมมาของพื้นที่ ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการจัดรูปการบริหารเป็นเขตหนองจอก มีลำคลองขุดเช่น คลองเก้า คลองสิบ จนถึงคลองสิบสี่ขุดผ่าน และมีคลองลัดตัดเชื่อมระหว่างลำคลองสายหลักในลักษณะก้างปลาอย่างทั่วถึง
สถานที่สำคัญในเขตหนองจอก มีอาทิ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ คลองเก้า ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการของทั้งสำนักจุฬาราชมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการอิสลามกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอกเป็นที่ตั้งชุมชนชาวไทยมุสลิมจำนวนประมาณกว่าร้อยละ 75 ของประชากรทั้งหมดในเขต แต่ก็มีชุมชนชาวไทยเชื้อสายอื่นๆ อาทิ ชุมชนชาวไทยรามัญ ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยคริสต์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ด้วย โดยมีศาสนสถานทั้งมัสยิด วัด ศาลเจ้าจีน และโบสถ์คริสต์ มีสถานที่ท่องเที่ยว อาทิ ตลาดเก่าร้อยปี วัดสีชมพู แหล่งเที่ยวชมค้างคาวแม่ไก่ ฯลฯ