Category Archives: คลองประเวศบุรีรมย์
คลองประเวศบุรีรมย์
คลองประเวศบุรีรมย์ is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
คลองประเวศบุรีรมย์ เป็นตำบลหนึ่งใน 8 ตำบลของ อำเภอบางบ่อ
บางบ่อ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำภอบางบ่อตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง (กรุงเทพมหานคร) อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และอำเภอบ้านโพธิ์ (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองกาหลง คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองหนึ่งเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางปะกง (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองพระยาสมุทร คลองฉะบัง คลองบางพลีน้อย คลองหอมศีล คลองสำโรง คลองปีกกา คลองก้นบึ้ง คลองสีล้งเก่า และคลองสีล้งใหม่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทยตอนใน (น่านน้ำเขตจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี)[1]
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง มีคลองลึก คลองด่านน้อย คลองชลประทาน คลองหัวเกลือ คลองสาม คลองร้อย คลองหัวเกลือ คลองกะลาวน คลองสำโรง คลองสนามพลี คลองสนามพลีเก่า คลองบางเซา คลองชวดใหญ่ คลองท่าข้าม และคลองกาหลงเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่ออำเภอ[แก้]
คำว่า บาง (น.) หมายถึง ทางน้ำเล็ก ๆ ที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล หรือตำบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน ส่วนคำว่า บ่อ (น.) หมายถึง ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังน้ำขังปลาเป็นต้น (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542)
เมื่อรวมกันแล้วคำว่า บางบ่อ น่าจะหมายถึง ท้องที่ที่มีทางน้ำเล็ก ๆ อยู่ใกล้ทะเล มีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ หรือขุดบ่อล่อปลาให้เข้าไปอยู่เวลาน้ำขึ้น และเปิดน้ำออกเพื่อจับปลาเวลาน้ำลง
ประวัติศาสตร์[แก้]
หมู่บ้านบางบ่อได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2439[2] ในครั้งแรกตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่บ้านคอลาด (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านทางตอนเหนือของตำบลบางบ่อ) จึงได้ชื่อว่า อำเภอคอลาด[2] แต่เนื่องจากที่ตั้งนี้อยู่ห่างไกลจากตำบลอื่นมาก ประชาชนมาติดต่อราชการไม่สะดวก ในปี พ.ศ. 2443 ทางการจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางพลี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีลำคลองจาก 3 ทางไหลมาบรรจบกัน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อำเภอบางเหี้ย[3] ตามลำคลองสำคัญสายหนึ่งของท้องถิ่นซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “คลองด่าน”
ในปี พ.ศ. 2472 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางบ่อ แต่ก็ยังใช้ชื่ออำเภอตามเดิม[3] จนกระทั่งในปลายปีถัดมา (พ.ศ. 2473) กระทรวงมหาดไทยจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอบางเหี้ยเป็น อำเภอบางบ่อ ตามชื่อตำบลที่ตั้งอำเภอและตามชื่อที่ประชาชนนิยมเรียก[4] และใช้ชื่อนี้ตั้งแต่นั้นมา ส่วนตำบลบางเหี้ยที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “ตำบลคลองด่าน” ในภายหลังเมื่อปี พ.ศ. 2483[5] เนื่องจากทางการ (สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี) เห็นว่าไม่สุภาพและไม่เป็นมงคล[3]
ครั้นในปี พ.ศ. 2486 จังหวัดสมุทรปราการถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบางบ่อถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2489 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นมาอีกครั้ง[6] อำเภอบางบ่อจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของทางจังหวัดจนถึงปัจจุบัน
ส่วนตรงนี้จะเป็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่หลังตั้งอำเภอบางบ่อ ขึ้นกับ จังหวัดสมุทรปราการ อีกครั้งหนึ่ง (พ.ศ. 2489)
- วันที่ 14 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบางบ่อ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางบ่อ [7]
- วันที่ 4 มีนาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลคลองด่าน ในท้องที่บางส่วนของตำบลคลองด่าน [8]
- วันที่ 1 ตุลาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลคลองสวน ในท้องที่บางส่วนของตำบลคลองสวน [9]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางบ่อ สุขาภิบาลคลองด่าน และ สุขาภิบาลคลองสวน เป็น เทศบาลตำบลบางบ่อ เทศบาลตำบลคลองด่าน และ เทศบาลตำบลคลองสวน
- วันที่ 12 กันยายน 2554 ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีน้อย เป็น เทศบาลตำบลบางพลีน้อย [10]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบางบ่อแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 8 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 74 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางบ่อ | (Bang Bo) | 11 หมู่บ้าน | 5. | คลองด่าน | (Khlong Dan) | 14 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | บ้านระกาศ | (Ban Rakat) | 10 หมู่บ้าน | 6. | คลองสวน | (Khlong Suan) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | บางพลีน้อย | (Bang Phli Noi) | 11 หมู่บ้าน | 7. | เปร็ง | (Preng) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | บางเพรียง | (Bang Phriang) | 6 หมู่บ้าน | 8. | คลองนิยมยาตรา | (Khlong Niyom Yattra) | 6 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบางบ่อประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลคลองด่าน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลคลองด่าน
- เทศบาลตำบลคลองสวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสวนทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางบ่อ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางบ่อ
- เทศบาลตำบลบางพลีน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลีน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางบ่อ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางบ่อ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านระกาศ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านระกาศทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเพรียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเพรียงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองด่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองด่าน (นอกเขตเทศบาลตำบลคลองด่าน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเปร็ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเปร็งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนิยมยาตรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองนิยมยาตราทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
อำเภอบางบ่อมีถนนสายหลัก ได้แก่
- ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3)
- ถนนเทพรัตน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34) และทางพิเศษบูรพาวิถีด้านบน
- ถนนเทพารักษ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268)
- ถนนรัตนราช (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3117)
- ถนนปานวิถี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3117)
- ถนนเลี่ยงเมืองบางบ่อ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3413)
- ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7)
- ถนนเคหะบางพลี (ทางหลวงชนบท สป.1006)
- ถนนเทพราช-ลาดกระบัง (ทางหลวงชนบท ฉช.3001)
ถนนสายรอง ได้แก่
- ทางหลวงชนบท สป.1005 (สีล้ง-บางพลีน้อย)
- ทางหลวงชนบท สป.2003 (แยกทางหลวงหมายเลข 34-ทางหลวงหมายเลข 7)
- ทางหลวงชนบท สป.6004 (บ้านนิยมยาตรา-บ้านคลองสวน)
- ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี
- ถนนเลียบคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต
คลองที่สำคัญ ได้แก่
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
- อัญชะลี ไพรีรัก
- กรุง ศรีวิไล
- พระครูพิพัฒนิโรธกิจ (ปาน)
- ศักดิชัย บำรุงพงศ์
- สดใส รุ่งโพธิ์ทอง
- ฝนทิพย์ วัชรตระกูล
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง[แก้]
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2349 สุนทรภู่ได้ล่องเรือผ่านมาตามลำคลองสำโรง เพื่อเดินทางไปหาบิดาที่บ้านกร่ำ (เขตอำเภอแกลง จังหวัดระยองปัจจุบัน) ระหว่างทางก็ได้บันทึกการเดินทางแต่งเป็นนิราศเมืองแกลง บรรยายถึงท้องถิ่นที่ผ่านมาตามทาง ซึ่งได้กล่าวถึงบางบ่อไว้ดังนี้
“ถึงบางบ่อพอจันทร์กระจ่างแจ้ง | ทุกประเทศเขตแขวงนั้นกว้างขวาง | ||
ดูดาวดาษกลาดฟ้านภาภางค์ | วิเวกทางท้องทุ่งสะท้านใจ | ||
ดูริ้วริ้วลมปลิวที่ปลายแฝก | ทุกละแวกหวาดหวั่นอยู่ไหวไหว | ||
รำลึกถึงขนิษฐายิ่งอาลัย | เช่นนี้ได้เจ้ามาด้วยจะดิ้นโดย | ||
เห็นทิวทุ่งวุ้งเวิ้งให้หวั่นหวาด | กัมปนาทเสียงนกวิหคโหย | ||
ไหนจะต้องละอองน้ำค้างโปรย | เมื่อลมโชยชื่นนวลจะชวนเชย | ||
โอ้นึกนึกแล้วก็น่าน้ำตาตก | ด้วยแนบอกมิได้แนบแอบเขนย | ||
ได้หมอนข้างต่างน้องประคองเชย | เมื่อไรเลยจะได้คืนมาชื่นใจฯ” |