ตลิ่งชัน แผ่นใส กระจก ตลิ่งชัน แผ่นใส กระจก : แผ่นเดียว […]
Category Archives: แขวงตลิ่งชัน
แขวงตลิ่งชัน
แขวงตลิ่งชัน is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
แขวงตลิ่งชัน
เป็นแขวงหนึ่งใน 6 แขวงของเขตตลิ่งชัน
เขตตลิ่งชัน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่รอบนอกทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเรียกว่า “ฝั่งธนบุรี” สภาพโดยทั่วไปเป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย แต่ปัจจุบัน พื้นที่เกษตรกรรมกำลังลดลงไปมากจากการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการสร้างเส้นทางคมนาคม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของฝั่งธนบุรี และมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) มีแนวกึ่งกลางคลองมหาสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) เขตบางพลัด และเขตบางกอกน้อย มีคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ และคลองบางขุนศรีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตภาษีเจริญและเขตบางแค มีคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตทวีวัฒนา มีถนนกาญจนาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
เขตตลิ่งชันเดิมเป็นอำเภอเก่าแก่อยู่ในพื้นที่การปกครองของจังหวัดธนบุรีมีชื่อว่า อำเภอตลิ่งชัน ตั้งที่ว่าการอยู่บริเวณคลองบางกอกน้อย ตำบลบางบำหรุ ท้องที่อำเภอบางกอกน้อย ต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ปากคลองวัดไก่เตี้ย ริมคลองบางกอกน้อย และในปี พ.ศ. 2457 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ที่ริมทางรถไฟสายใต้ ตำบลคลองชักพระ
ตำบลคลองชักพระเป็นตำบลเดียวของอำเภอตลิ่งชันที่อยู่ในเขตเทศบาลนครธนบุรี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479) แต่เนื่องจากอำเภอตลิ่งชันมีอาณาเขตกว้างขวางและมีประชากรเพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศจัดตั้งตำบลทวีวัฒนาแยกจากตำบลศาลาธรรมสพน์ในปี พ.ศ. 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลตลิ่งชันครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลิ่งชันในปี พ.ศ. 2504 รวมทั้งตั้งตำบลบางพรมขึ้นโดยแยกพื้นที่จากตำบลบางเชือกหนังในปี พ.ศ. 2512 และตั้งตำบลฉิมพลีแยกพื้นที่จากตำบลตลิ่งชันในปี พ.ศ. 2513 อำเภอตลิ่งชันจึงแบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล และประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง[2]
ภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและต่อมาเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยุบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ อำเภอตลิ่งชันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตตลิ่งชัน ส่วนตำบลต่าง ๆ ก็เปลี่ยนฐานะเป็นแขวงตามไปด้วย จนกระทั่งในในปี พ.ศ. 2541 พื้นที่เขตทางฟากตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษกได้ถูกแบ่งและจัดตั้งเป็นเขตใหม่ คือเขตทวีวัฒนา ทุกวันนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตก็ยังคงเป็นพื้นที่เกษตร ได้แก่ สวนผัก สวนผลไม้ โดยผลไม้ที่เป็นผลไม้ดั้งเดิมของที่นี่ คือ มะเฟือง[3] แต่ในปัจจุบันก็เริ่มที่จะมีการสร้างบ้านจัดสรรเข้ามาด้วย แต่ผู้คนบางส่วนก็ยังสัญจรไปมาทางน้ำโดยการใช้เรืออยู่ [4]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตตลิ่งชันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
คลองชักพระ | Khlong Chak Phra |
1.251
|
10,516
|
4,588
|
8,406.07
|
ตลิ่งชัน | Taling Chan |
5.183
|
25,007
|
11,329
|
4,824.81
|
ฉิมพลี | Chimphli |
7.338
|
24,336
|
9,410
|
3,316.43
|
บางพรม | Bang Phrom |
4.253
|
13,758
|
4,761
|
3,234.89
|
บางระมาด | Bang Ramat |
2.915
|
19,570
|
7,818
|
6,713.55
|
บางเชือกหนัง | Bang Chueak Nang |
8.539
|
11,860
|
4,232
|
1,388.92
|
ทั้งหมด |
29.479
|
105,047
|
42,138
|
3,563.45
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตตลิ่งชัน[5] |
||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 123,477 | ไม่ทราบ |
2536 | 130,425 | +6,948 |
2537 | 135,100 | +4,675 |
2538 | 137,827 | +2,727 |
2539 | 142,090 | +4,263 |
2540 | 145,490 | +3,400 |
2541 | 98,550 | แบ่งเขต |
2542 | 99,695 | +1,145 |
2543 | 100,509 | +814 |
2544 | 101,600 | +1,091 |
2545 | 103,020 | +1,420 |
2546 | 104,254 | +1,234 |
2547 | 104,680 | +426 |
2548 | 105,730 | +1,150 |
2549 | 106,811 | +1,081 |
2550 | 107,812 | +1,001 |
2551 | 107,513 | -299 |
2552 | 106,963 | -550 |
2553 | 106,753 | -210 |
2554 | 106,786 | +33 |
2555 | 106,532 | -254 |
2556 | 106,192 | -340 |
2557 | 105,857 | -335 |
2558 | 105,613 | -244 |
2559 | 105,289 | -324 |
2560 | 105,299 | +10 |
2561 | 105,047 | -252 |
การคมนาคม[แก้]
ทางบก[แก้]
ปัจจุบันในพื้นที่เขตตลิ่งชันมีทางสายหลักอยู่ 5 สาย คือ ถนนบรมราชชนนี ถนนราชพฤกษ์ ถนนพุทธมณฑล สาย 1 ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 และ ทางพิเศษศรีรัช
ส่วนทางสายรองนั้นมีอยู่ทั่วไป และเข้าถึงพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขต ได้แก่ ถนนฉิมพลี ถนนทุ่งมังกร ถนนสวนผัก ถนนบางพรม ถนนชักพระ ถนนบางระมาด ถนนบางเชือกหนัง ถนนแก้วเงินทอง ถนนชัยพฤกษ์ ถนนปากน้ำฝั่งเหนือ และถนนปากน้ำกระโจมทอง ซึ่งตามริมถนนทั้งสายหลักและรองดังกล่าวก็ยังมีตรอกซอกซอยแยกย่อยออกไปอีก
ทางน้ำ[แก้]
- คลองบางกอกน้อย
- คลองมหาสวัสดิ์
- คลองชักพระ
- คลองบางระมาด
- คลองบางพรม
- คลองบางน้อย
- คลองบางเชือกหนัง
- คลองมอญ
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สถานีขนส่งสายใต้
- เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
- คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 2
- ตลาดน้ำสองคลอง วัดตลิ่งชัน
- ตลาดน้ำตลิ่งชัน
- ตลาดน้ำคลองลัดมะยม
- สวนน้ำตลิ่งชัน[6]
- สวนมณฑลภิรมย์