บางยี่ขัน ลูกหมุน : ระบายอากาศ พร้อมแผ่นฐาน บางยี่ขัน ล […]
Category Archives: แขวงบางยี่ขัน
แขวงบางยี่ขัน
แขวงบางยี่ขัน is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
แขวงบางยี่ขัน
เป็นแขวงหนึ่งใน 4 แขวงของเขตบางพลัด
เขตบางพลัด เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เดิมถือเป็นพื้นที่รอบนอก แต่ปัจจุบันมีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้าและแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของฝั่งธนบุรี) มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) มีทางรถไฟสายใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางซื่อ เขตดุสิต และเขตพระนคร มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกอกน้อย มีถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนนบรมราชชนนีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
มีข้อสันนิษฐานว่าชื่อ “บางพลัด” หมายถึง การพลัดหลงหรือหลงถิ่น เชื่อว่ามาจากเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 เมื่อผู้คนอพยพหนีลงมาสู่ที่นี่ได้พลัดหลงหรือหลงหายกัน เนื่องจากมีลำคลอง ลำประโดง และมีสวนแน่นขนัด ทำให้ผู้ที่เข้ามาในละแวกนี้มักจะเกิดการพลัดหลงเข้าออกไม่ถูกอยู่บ่อยครั้ง[2] ซึ่งนามเช่นนี้มีความหมายในเชิงไม่เป็นมงคลในความเชื่อ จึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนเป็น “บางภัทร์” ใน พ.ศ. 2545 แต่ที่สุดก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแต่อย่างใด[3]
ประวัติศาสตร์[แก้]
เดิมเขตบางพลัดมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในอำเภอหนึ่งของพระนคร มีชื่อว่า อำเภอบางพลัด ต่อมาถูกลดฐานะเป็น ตำบลบางพลัด ขึ้นอยู่กับอำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 ตำบลบางพลัดจึงเปลี่ยนฐานะเป็น แขวงบางพลัด ขึ้นกับเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดตั้งที่ทำการแขวงบางพลัดโดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบางพลัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 79 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อยในขนะนั้น[4]
ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตบางกอกน้อย สาขาบางพลัด ขึ้นดูแลพื้นที่แขวงบางพลัด บางอ้อ บางบำหรุ และบางยี่ขัน ซึ่งต่อมาท้องที่ทั้ง 4 แขวงนี้ได้ยกฐานะขึ้นเป็น เขตบางพลัด ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อยและจัดตั้งเขตบางพลัด
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางพลัด โดยตัดพื้นที่แขวงบางบำหรุและบางยี่ขัน เฉพาะส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า กลับไปเป็นพื้นที่ในการปกครองของเขตบางกอกน้อยอีกครั้ง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตบางพลัดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
บางพลัด | Bang Phlat |
3.296
|
23,311
|
9,443
|
7,072.51
|
บางอ้อ | Bang O |
2.846
|
24,708
|
13,718
|
8,681.65
|
บางบำหรุ | Bang Bamru |
2.332
|
18,514
|
13,073
|
7,939.10
|
บางยี่ขัน | Bang Yi Khan |
2.886
|
24,745
|
17,422
|
8,574.15
|
ทั้งหมด |
11.360
|
91,278
|
53,656
|
8,035.03
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางพลัด[5] |
||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 134,681 | ไม่ทราบ |
2536 | 134,970 | +289 |
2537 | 133,520 | -1,450 |
2538 | 130,759 | -2,761 |
2539 | 129,228 | -1,531 |
2540 | 127,566 | -1,662 |
2541 | 125,451 | -2,115 |
2542 | 123,035 | -2,416 |
2543 | 120,200 | -2,835 |
2544 | 118,748 | -1,452 |
2545 | 117,561 | -1,187 |
2546 | 116,271 | -1,290 |
2547 | 110,331 | -5,940 |
2548 | 108,597 | -1,734 |
2549 | 107,139 | -1,458 |
2550 | 105,347 | -1,792 |
2551 | 103,852 | -1,495 |
2552 | 102,320 | -1,532 |
2553 | 101,276 | -1,044 |
2554 | 100,319 | -957 |
2555 | 99,153 | -1,166 |
2556 | 98,113 | -1,040 |
2557 | 96,787 | -1,326 |
2558 | 95,478 | -1,309 |
2559 | 93,771 | -1,707 |
2560 | 92,325 | -1,446 |
2561 | 91,278 | -1,047 |
การคมนาคม[แก้]
- ทางสายหลัก
- ถนนจรัญสนิทวงศ์ เชื่อมระหว่างสี่แยกบรมราชชนนีกับสะพานพระราม 7
- ถนนสิรินธร เชื่อมระหว่างทางแยกต่างระดับสิรินธรกับสี่แยกบางพลัด
- ถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างสี่แยกบางพลัดกับสะพานกรุงธน
- ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ทางขนานขาเข้า)
- ถนนอรุณอมรินทร์ เชื่อมระหว่างสี่แยกอรุณอมรินทร์กับสะพานพระราม 8
- ทางพิเศษศรีรัช เชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษก
- ทางสายรองและทางลัด
|
|
- สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
- สะพานพระราม 7 เชื่อมเขตบางพลัดและอำเภอบางกรวยเข้ากับเขตบางซื่อ
- สะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟเชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตบางซื่อ
- สะพานกรุงธน เชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตดุสิต
- สะพานพระราม 8 เชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตพระนคร
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สะพานพระราม 8
- สะพานกรุงธน
- บ้านบางยี่ขัน
- แขวงทางหลวงธนบุรี
- หมวดทางหลวงตลิ่งชัน
- ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ศาสนสถาน[แก้]
วัด[แก้]
เขตบางพลัดมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก จึงมีการสร้างวัดเป็นจำนวนไม่น้อย แบ่งเป็นวัด 23 วัด
|
|
มัสยิด[แก้]
- มัสยิดบางอ้อ
- มัสยิดดารุลอิหซาน
ศาลเจ้า[แก้]
- ศาลเจ้าปุงเท่ากง
- ศาลเจ้าพ่อเสือ