ถนนหลังสวน แผ่นใสขุ่น ถนนหลังสวน แผ่นใสขุ่น : แผ่นเดียว […]
Category Archives: ถนนหลังสวน
ถนนหลังสวน
ถนนหลังสวน is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
ถนนหลังสวน เป็นถนนสายหลักของ เขตปทุมวัน
เขตปทุมวัน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดุสิตและเขตราชเทวี มีคลองมหานาคและคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวัฒนาและเขตคลองเตย มีขอบทางรถไฟสายแม่น้ำฟากตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสาทรและเขตบางรัก มีถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณคลองแสนแสบ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นท้องนาชานเมือง มีบัวพันธุ์ไทยขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสระบัว 2 สระ และพระตำหนักสำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อนซึ่งในปัจจุบันเป็นวังสระปทุม (วังที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี) และต่อมาได้โปรด ฯ ให้สร้างวัดปทุมวนาราม (แปลว่า วัดป่าบัว) ขึ้นเป็นพระอารามหลวง บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า ปทุมวัน
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอปทุมวัน ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงนครบาลเมื่อ พ.ศ. 2457 โดยใช้ที่ว่าการอำเภอสามแยก (ต่อมายุบรวมกับอำเภอสัมพันธวงศ์) เป็นที่ทำการในขั้นแรก จากนั้นจึงย้ายมาตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน และได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบันในซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระรามที่ 4 ในปี พ.ศ. 2506[3]
ใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอปทุมวันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตปทุมวัน ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตปทุมวันแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2562) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2562) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2562) |
---|---|---|---|---|---|
รองเมือง | Rong Mueang |
1.301
|
16,551
|
7,158
|
12,721.75
|
วังใหม่ | Wang Mai |
1.403
|
6,805
|
6,241
|
4,850.32
|
ปทุมวัน | Pathum Wan |
2.181
|
5,384
|
1,075
|
2,468.59
|
ลุมพินี | Lumphini |
3.485
|
18,345
|
18,629
|
5,263.98
|
ทั้งหมด |
8.370
|
47,085
|
33,103
|
5,625.44
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตปทุมวัน[4] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตได้แก่ ถนนพระรามที่ 1 (ต่อเนื่องเป็นถนนเพลินจิตและถนนสุขุมวิท) ตัดผ่านพื้นที่เขตในแนวนอนทางทิศเหนือ ถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองทางทิศใต้ โดยถนนที่เชื่อมระหว่างถนนทั้ง 2 สายนี้ ได้แก่ ถนนรองเมือง ถนนจารุเมือง (ต่อเนื่องเป็นถนนพระรามที่ 6) ถนนบรรทัดทอง ถนนพญาไท ถนนอังรีดูนังต์ และถนนราชดำริ นอกจากนี้ก็ยังมีถนนหลังสวน ถนนวิทยุ ถนนสารสิน ถนนจรัสเมือง ถนนเจริญเมือง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช
การคมนาคมระบบรางนั้น สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งอยู่ในแขวงรองเมือง เป็นสถานีรถไฟกลางของกรุงเทพมหานคร โดยรถไฟจะออกจากสถานีนี้ไปสู่จุดหมายปลายทางทั่วประเทศ
ในส่วนของระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้านั้น เขตปทุมวันมีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้แก่ สถานีหัวลำโพง สถานีสามย่าน สถานีสีลม และสถานีลุมพินี ตั้งอยู่ริมแนวเขตทางทิศใต้ ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสก็มีสถานีสยามซึ่งเป็นสถานีหลักอยู่ในเขตนี้ เป็นจุดเชื่อมต่อของสายสีลมกับสายสุขุมวิท สถานีรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในพื้นที่เขตปทุมวัน ได้แก่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีราชดำริของสายสีลม สถานีชิดลมและสถานีเพลินจิต ของสายสุขุมวิท
การสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือด่วนที่บริการในคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองแบ่งเขตปกครองแคบ ๆ ทางทิศเหนือ
สถานที่[แก้]
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา[แก้]
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5]
- พิพิธภัณฑ์กุมารศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
- พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์วาจวิทยาวัฑฒน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับไทย
- พิพิธภัณฑ์สมุนไพร
- เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หอศิลป์จามจุรี
- หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย
- สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา[แก้]
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมและมัธยม
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
- โรงเรียนวัดปทุมวนาราม
- โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย