รองเมือง เมทัลชีท รองเมือง เมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย ท […]
Category Archives: แขวงรองเมือง
แขวงรองเมือง
แขวงรองเมือง is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
แขวงรองเมือง เป็นแขวงหนึ่งใน 4 แขวงของเขตปทุมวัน
เขตปทุมวัน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดุสิตและเขตราชเทวี มีคลองมหานาคและคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวัฒนาและเขตคลองเตย มีทางรถไฟสายแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสาทรและเขตบางรัก มีถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณคลองแสนแสบ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นท้องนาชานเมือง มีบัวพันธุ์ไทยขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสระบัว 2 สระ และพระตำหนักสำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อนซึ่งในปัจจุบันเป็นวังสระปทุม (วังที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี) และต่อมาได้โปรด ฯ ให้สร้างวัดปทุมวนาราม (แปลว่า วัดป่าบัว) ขึ้นเป็นพระอารามหลวง บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า ปทุมวัน
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอปทุมวัน ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงนครบาลเมื่อ พ.ศ. 2457 โดยใช้ที่ว่าการอำเภอสามแยก (ต่อมายุบรวมกับอำเภอสัมพันธวงศ์) เป็นที่ทำการในขั้นแรก จากนั้นจึงย้ายมาตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน และได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบันในซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระรามที่ 4 ในปี พ.ศ. 2506[3]
ใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอปทุมวันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตปทุมวัน ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตปทุมวันแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
รองเมือง | Rong Mueang |
1.301
|
17,181
|
7,163
|
13,205.99
|
วังใหม่ | Wang Mai |
1.403
|
7,092
|
5,795
|
5,054.88
|
ปทุมวัน | Pathum Wan |
2.181
|
6,058
|
1,076
|
2,777.62
|
ลุมพินี | Lumphini |
3.485
|
18,051
|
16,759
|
5,179.62
|
ทั้งหมด |
8.370
|
48,382
|
30,793
|
5,780.40
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตปทุมวัน[4] |
||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 139,008 | ไม่ทราบ |
2536 | 119,887 | -19,121 |
2537 | 117,241 | -2,646 |
2538 | 116,195 | -1,046 |
2539 | 112,920 | -3,575 |
2540 | 112,597 | -323 |
2541 | 111,052 | -1,545 |
2542 | 104,066 | -6,986 |
2543 | 102,776 | -1,290 |
2544 | 99,919 | -2,857 |
2545 | 98,532 | -1,387 |
2546 | 97,533 | -999 |
2547 | 64,168 | -33,365 |
2548 | 63,192 | -976 |
2549 | 62,102 | -1,090 |
2550 | 61,040 | -1,062 |
2551 | 60,275 | -765 |
2552 | 58,858 | -1,417 |
2553 | 57,368 | -1,490 |
2554 | 54,996 | -2,372 |
2555 | 53,912 | -1,084 |
2556 | 52,613 | -1,299 |
2557 | 51,557 | -1,056 |
2558 | 50,673 | -884 |
2559 | 49,594 | -1,079 |
2560 | 49,121 | -473 |
2561 | 48,382 | -739 |
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตได้แก่ ถนนพระรามที่ 1 (ต่อเนื่องเป็นถนนเพลินจิตและถนนสุขุมวิท) ตัดผ่านพื้นที่เขตในแนวนอนทางทิศเหนือ ถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองทางทิศใต้ โดยถนนที่เชื่อมระหว่างถนนทั้ง 2 สายนี้ ได้แก่ ถนนรองเมือง ถนนจารุเมือง (ต่อเนื่องเป็นถนนพระรามที่ 6) ถนนบรรทัดทอง ถนนพญาไท ถนนอังรีดูนังต์ และถนนราชดำริ นอกจากนี้ก็ยังมีถนนหลังสวน ถนนวิทยุ ถนนสารสิน ถนนจรัสเมือง ถนนเจริญเมือง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช
การคมนาคมระบบรางนั้น สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งอยู่ในแขวงรองเมือง เป็นสถานีรถไฟกลางของกรุงเทพมหานคร โดยรถไฟจะออกจากสถานีนี้ไปสู่จุดหมายปลายทางทั่วประเทศ
ในส่วนของระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้านั้น เขตปทุมวันมีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้แก่ สถานีหัวลำโพง สถานีสามย่าน สถานีสีลม และสถานีลุมพินี ตั้งอยู่ริมแนวเขตทางทิศใต้ ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสก็มีสถานีสยามซึ่งเป็นสถานีหลักอยู่ในเขตนี้ เป็นจุดเชื่อมต่อของสายสีลมกับสายสุขุมวิท สถานีรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในพื้นที่เขตปทุมวัน ได้แก่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีราชดำริของสายสีลม สถานีชิดลมและสถานีเพลินจิต ของสายสุขุมวิท
การสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือด่วนที่บริการในคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองแบ่งเขตปกครองแคบ ๆ ทางทิศเหนือ
สถานที่[แก้]
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา[แก้]
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5]
- พิพิธภัณฑ์กุมารศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
- พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์วาจวิทยาวัฑฒน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับไทย
- พิพิธภัณฑ์สมุนไพร
- เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หอศิลป์จามจุรี
- หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย
- สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา[แก้]
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมและมัธยม
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
- โรงเรียนวัดปทุมวนาราม
- โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
สถานที่สำคัญทางราชการ[แก้]
สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา[แก้]
ศาลเทพเจ้าทางศาสนาฮินดู[แก้]
- ศาลพระตรีมูรติ[8]
- ศาลท้าวมหาพรหม เอราวัณ
- ศาลพระนารายณ์ทรงสุบรรณ
- ศาลพระพิฆเณศวร
- ศาลพระลักษมี
- ศาลพระอินทร์ (ท้าวอมรินทร์เทวาธิราช)
การเดินทางและสถานที่เชื่อมต่อ[แก้]
- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
- สถานีรถไฟฟ้ามหานคร
- สถานีรถไฟหัวลำโพง
- ท่าเรือเชิงสะพานเฉลิมโลก
สนามกีฬาและสวนสาธารณะ[แก้]
- ราชกรีฑาสโมสร
- สวนลุมพินี
- พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- กรีฑาสถานแห่งชาติ
- สวนปทุมวนานุรักษ์
- PARK @ SIAM
สถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม[แก้]
- บริการสารนิเทศเฉพาะสาขา ชนเผ่าไท-กะได
- พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน
- พิพิธภัณฑ์โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
- หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 เซ็นทรัล ชิดลม เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในเวลากลางคืน มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บสาหัส 11 ราย[9][10]
23 กมุภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ตึกเพรสซิเด้นท์ ทาวเวอร์ เกิดเพลิงไหม้ขึ้น มีผู้เสียชีวิต 3 รายบาดเจ็บ 101 ราย[11]
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ได้เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณทางเข้าสวนลุมพินี ประตู 4 ถนนพระรามที่ 4 ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นด่านตรวจของตำรวจและทหาร จำนวน 3 ครั้ง เบื้องต้นคาดว่าเป็นชนิดเอ็ม 79 เบื้องต้นมีตำรวจได้รับบาดเจ็บ 4 ราย ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เบื้องจากการตรวจสอบวิถีกระสุนในเบื้องต้น คนร้ายน่าจะยิงวิถีโค้ง ข้ามสะพานลอย น่าจะเป็นการยิงมาจากทางด้านแยกศาลาแดง[ต้องการอ้างอิง] เมื่อเวลา 05.00 น. พบเจ้าหน้าที่ 1 นายเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว[12]
17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เกิดระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ สามารถจับผู้วางระเบิดได้แล้วคือนายยูซูฟุ ไมรารี และนายอาเด็ม คาราดัก โดยทั้งสองคนได้ซัดทอดว่ามีคนไทยอยู่เบื่องหลังการก่อเหตุในครั้งนี้ คือนายอ๊อด พยุงวงษ์และนางสาววรรณา สวนสัน ซึ่งในขณะนี้เชื่อว่าออกนอกประเทศไปแล้ว
10 เมษายน พ.ศ. 2562 เกิดเหตุไฟไหม้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ มีผู้เสียชีวิต 3 ราย[13] บาดเจ็บ 15 ราย[14]