Category Archives: ตำบลนาเกลือ
ตำบลนาเกลือ
ตำบลนาเกลือ is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
ตำบลนาเกลือ เป็นตำบลหนึ่งใน 8 ตำบลของอำเภอบ่อทอง
อำเภอบางละมุง คืออำเภอหนึ่งในจังหวัดชลบุรี มีพื้นที่รวมประมาณ 727 ตารางกิโลเมตร หรือ 469,021 ไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 60 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จะมีศาสนาอื่นบ้างเป็นกลุ่มย่อย
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอบางละมุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ห่างจากอำเภอเมืองชลบุรีไปทางใต้ประมาณ 45 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ 142 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอศรีราชา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปลวกแดง อำเภอนิคมพัฒนา และอำเภอบ้านฉาง (จังหวัดระยอง)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสัตหีบ
- ทิศตะวันตก จรดอ่าวไทย
ประวัติ[แก้]
อำเภอบางละมุงแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองบางละมุง ตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุง ตำบลบางละมุง จนถึงปี พ.ศ. 2444 ได้ยุบเมืองบางละมุงเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดชลบุรี โดยมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บริเวณริมคลองนกยาง ซึ่งขณะนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นท่าน้ำที่สำคัญทั้งทางด้านการคมนาคมและเป็นที่ชุมนุมของเรือสินค้าต่าง ๆ ต่อมาคลองนกยางตื้นเขินไม่สะดวกต่อเรือสินค้าต่าง ๆ จะล่องเข้าออก ทั้งสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะขยายชุมชนให้กว้างขวาง นายอำเภอสมัยนั้น คือ นายเจิม (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสัตยานุกูล) จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ใหม่บริเวณริมทะเลในตำบลนาเกลือ เมื่อ พ.ศ. 2452
ในปี พ.ศ. 2480 ทางราชการได้แบ่งแยกพื้นที่ตำบลสัตหีบเป็นกิ่งอำเภอขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอบางละมุง จนถึงปี พ.ศ. 2496 จึงยกฐานะกิ่งอำเภอสัตหีบขึ้นเป็นอำเภอสัตหีบ แยกออกไปจากอำเภอบางละมุงโดยสมบูรณ์ตั้งแต่นั้นมา
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2495 เกิดวาตภัยร้ายแรง ตัวอาคารที่ว่าการอำเภอพังเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้ จึงได้ย้ายไปตั้งที่ทำการชั่วคราวที่โรงเรียนบางละมุง ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ต่อมา พ.ศ. 2496 ทางราชการได้อนุมัติเงินงบประมาณให้สร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่บริเวณใกล้ ๆ กับโรงเรียนบางละมุง และได้ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการจนทุกวันนี้
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบางละมุงแบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 72 หมู่บ้าน
ลำดับที่ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2560)[1] |
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2560)[1] |
|
---|---|---|---|---|---|---|
1. | บางละมุง | Bang Lamung | 9 | 24,342 | 13,290 11,052 |
(ทน. แหลมฉบัง) (ทต. บางละมุง) |
2. | หนองปรือ | Nong Prue | 14 | 146,334 | 67,076 79,258 |
(เมืองพัทยา) (ทม. หนองปรือ) |
3. | หนองปลาไหล | Nong Pla Lai | 9 | 21,603 | 2,265 734 18,604 |
(เมืองพัทยา) (ทต. บางละมุง) (ทต. หนองปลาไหล) |
4. | โป่ง | Pong | 10 | 9,689 | 9,689 | (ทต. โป่ง) |
5. | เขาไม้แก้ว | Khao Mai Kaeo | 5 | 6,701 | 6,701 | (ทต. เขาไม้แก้ว) |
6. | ห้วยใหญ่ | Huai Yai | 13 | 28,854 | 165 28,689 |
(เมืองพัทยา) (ทต. ห้วยใหญ่) |
7. | ตะเคียนเตี้ย | Takhian Tia | 5 | 21,767 | 21,671 96 |
(ทต. ตะเคียนเตี้ย) (ทต. บางละมุง) |
8. | นาเกลือ | Na Kluea | 7 | 49,005 | 49,005 | (เมืองพัทยา) |
รวม | 72 | 308,295 | 118,511 (เมืองพัทยา) 13,290 (ทน.) 79,258 (ทม.) 97,236 (ทต.) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบางละมุงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เมืองพัทยา ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2 (บางส่วน), 3 (บางส่วน), 11 (บางส่วน), 12 (บางส่วน) ตำบลหนองปรือ หมู่ที่ 6 (บางส่วน), 7, 8 ตำบลหนองปลาไหล หมู่ที่ 4 (บางส่วน) ตำบลห้วยใหญ่ และตำบลนาเกลือ[2]ทั้งตำบล
- เทศบาลนครแหลมฉบัง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 4 (บางส่วน), 6-9 ของตำบลบางละมุง (รวมไปถึงพื้นที่บางส่วนของตำบลสุรศักดิ์ ตำบลทุ่งสุขลาทั้งตำบล บางส่วนของตำบลบึง บางส่วนของตำบลหนองขามของอำเภอศรีราชาด้วย)
- เทศบาลเมืองหนองปรือ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1, 2 (บางส่วน), 3 (บางส่วน), 4-10, 11 (บางส่วน), 12 (บางส่วน) ตำบลหนองปรือ (นอกเขตเมืองพัทยา)
- เทศบาลตำบลบางละมุง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-3, 4 (บางส่วน), 5 ตำบลบางละมุง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง) หมู่ที่ 6 (บางส่วน) ตำบลหนองปลาไหล (เฉพาะนอกเขตเมืองพัทยาและเทศบาลตำบลหนองปลาไหล) และหมู่ที่ 2 ตำบลตะเคียนเตี้ย
- เทศบาลตำบลห้วยใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-3, 4 (บางส่วน), 5-13 ตำบลห้วยใหญ่ (เฉพาะนอกเขตเมืองพัทยา)[3][4]
- เทศบาลตำบลโป่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะเคียนเตี้ย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางละมุง)
- เทศบาลตำบลหนองปลาไหล ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-5, 6 (บางส่วน), 7-9 ตำบลหนองปลาไหล (เฉพาะนอกเขตเมืองพัทยาและเทศบาลตำบลบางละมุง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาไม้แก้วทั้งตำบล
เศรษฐกิจ[แก้]
- อาชีพหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเกษตร การประมง
- อาชีพเสริม ได้แก่ บริการนักท่องเที่ยวทุกประเภท ค้าขาย
- จำนวนธนาคาร มี 34 แห่ง
- จำนวนห้างสรรพสินค้า มี 15 แห่ง
สถานศึกษา[แก้]
- โรงเรียนมัธยม ได้แก่ โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร, โรงเรียนบางละมุง, โรงเรียนมารีวิทย์พัทยา,โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา)
- วิทยาลัย ได้ วิทยาลัยเทคนิคพัทยา (เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพบางละมุง)
- มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเอเชียน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา
ประชากร[แก้]
- จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 238,625 คน
- จำนวนประชากรชาย รวม 112,305 คน
- จำนวนประชากรหญิง รวม 126,320 คน
- ความหนาแน่นของประชากร 100 คน/ตร.กม.
ศาสนสถาน[แก้]
- วัด
- พระอารามหลวง 1 แห่ง
- วัดราษฎร์ 46 แห่ง
- โบสถ์ 4 แห่ง
- มัสยิด 8 แห่ง
- อื่น ๆ 1 แห่ง
การคมนาคม[แก้]
- ทางบก
- รถยนต์ : ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3, 7, 36, 331
- สถานีขนส่ง : ขนส่งรุ่งเรืองทัวร์, ขนส่งนครชัยแอร์, ศรีมงคลขนส่ง. 407 พัฒนา, ชาญทัวร์
- สถานีรถไฟ : สถานีรถไฟบางละมุง, สถานีรถไฟพัทยา, ป้ายหยุดรถพัทยาใต้, ป้ายหยุดรถตลาดน้ำสี่ภาค, สถานีรถไฟบ้านห้วยขวาง
- ทางน้ำ
- ท่าเรือขนส่งโดยสาร : ท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย
- ท่าแพขนานยนต์ : –
- ทางอากาศ
- ท่าอากาศยาน : –