Category Archives: ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี
ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี
ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นถนนสายหลักของ อำเภอบางบ่อ
บางบ่อ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำภอบางบ่อตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง (กรุงเทพมหานคร) อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และอำเภอบ้านโพธิ์ (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองกาหลง คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองหนึ่งเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางปะกง (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองพระยาสมุทร คลองฉะบัง คลองบางพลีน้อย คลองหอมศีล คลองสำโรง คลองปีกกา คลองก้นบึ้ง คลองสีล้งเก่า และคลองสีล้งใหม่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทยตอนใน (น่านน้ำเขตจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี)[1]
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง มีคลองลึก คลองด่านน้อย คลองชลประทาน คลองหัวเกลือ คลองสาม คลองร้อย คลองหัวเกลือ คลองกะลาวน คลองสำโรง คลองสนามพลี คลองสนามพลีเก่า คลองบางเซา คลองชวดใหญ่ คลองท่าข้าม และคลองกาหลงเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่ออำเภอ[แก้]
คำว่า บาง (น.) หมายถึง ทางน้ำเล็ก ๆ ที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล หรือตำบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน ส่วนคำว่า บ่อ (น.) หมายถึง ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังน้ำขังปลาเป็นต้น (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542)
เมื่อรวมกันแล้วคำว่า บางบ่อ น่าจะหมายถึง ท้องที่ที่มีทางน้ำเล็ก ๆ อยู่ใกล้ทะเล มีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ หรือขุดบ่อล่อปลาให้เข้าไปอยู่เวลาน้ำขึ้น และเปิดน้ำออกเพื่อจับปลาเวลาน้ำลง
ประวัติศาสตร์[แก้]
หมู่บ้านบางบ่อได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2439[2] ในครั้งแรกตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่บ้านคอลาด (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านทางตอนเหนือของตำบลบางบ่อ) จึงได้ชื่อว่า อำเภอคอลาด[2] แต่เนื่องจากที่ตั้งนี้อยู่ห่างไกลจากตำบลอื่นมาก ประชาชนมาติดต่อราชการไม่สะดวก ในปี พ.ศ. 2443 ทางการจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางพลี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีลำคลองจาก 3 ทางไหลมาบรรจบกัน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อำเภอบางเหี้ย[3] ตามลำคลองสำคัญสายหนึ่งของท้องถิ่นซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “คลองด่าน”
ในปี พ.ศ. 2472 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางบ่อ แต่ก็ยังใช้ชื่ออำเภอตามเดิม[3] จนกระทั่งในปลายปีถัดมา (พ.ศ. 2473) กระทรวงมหาดไทยจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอบางเหี้ยเป็น อำเภอบางบ่อ ตามชื่อตำบลที่ตั้งอำเภอและตามชื่อที่ประชาชนนิยมเรียก[4] และใช้ชื่อนี้ตั้งแต่นั้นมา ส่วนตำบลบางเหี้ยที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “ตำบลคลองด่าน” ในภายหลังเมื่อปี พ.ศ. 2483[5] เนื่องจากทางการ (สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี) เห็นว่าไม่สุภาพและไม่เป็นมงคล[3]
ครั้นในปี พ.ศ. 2486 จังหวัดสมุทรปราการถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบางบ่อถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2489 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นมาอีกครั้ง[6] อำเภอบางบ่อจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของทางจังหวัดจนถึงปัจจุบัน
ส่วนตรงนี้จะเป็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่หลังตั้งอำเภอบางบ่อ ขึ้นกับ จังหวัดสมุทรปราการ อีกครั้งหนึ่ง (พ.ศ. 2489)
- วันที่ 14 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบางบ่อ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางบ่อ [7]
- วันที่ 4 มีนาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลคลองด่าน ในท้องที่บางส่วนของตำบลคลองด่าน [8]
- วันที่ 1 ตุลาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลคลองสวน ในท้องที่บางส่วนของตำบลคลองสวน [9]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางบ่อ สุขาภิบาลคลองด่าน และ สุขาภิบาลคลองสวน เป็น เทศบาลตำบลบางบ่อ เทศบาลตำบลคลองด่าน และ เทศบาลตำบลคลองสวน
- วันที่ 12 กันยายน 2554 ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีน้อย เป็น เทศบาลตำบลบางพลีน้อย [10]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบางบ่อแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 8 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 74 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางบ่อ | (Bang Bo) | 11 หมู่บ้าน | 5. | คลองด่าน | (Khlong Dan) | 14 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | บ้านระกาศ | (Ban Rakat) | 10 หมู่บ้าน | 6. | คลองสวน | (Khlong Suan) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | บางพลีน้อย | (Bang Phli Noi) | 11 หมู่บ้าน | 7. | เปร็ง | (Preng) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | บางเพรียง | (Bang Phriang) | 6 หมู่บ้าน | 8. | คลองนิยมยาตรา | (Khlong Niyom Yattra) | 6 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบางบ่อประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลคลองด่าน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลคลองด่าน
- เทศบาลตำบลคลองสวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสวนทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางบ่อ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางบ่อ
- เทศบาลตำบลบางพลีน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลีน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางบ่อ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางบ่อ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านระกาศ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านระกาศทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเพรียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเพรียงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองด่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองด่าน (นอกเขตเทศบาลตำบลคลองด่าน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเปร็ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเปร็งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนิยมยาตรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองนิยมยาตราทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
อำเภอบางบ่อมีถนนสายหลัก ได้แก่
- ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3)
- ถนนเทพรัตน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34) และทางพิเศษบูรพาวิถีด้านบน
- ถนนเทพารักษ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268)
- ถนนรัตนราช (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3117)
- ถนนปานวิถี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3117)
- ถนนเลี่ยงเมืองบางบ่อ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3413)
- ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7)
- ถนนเคหะบางพลี (ทางหลวงชนบท สป.1006)
- ถนนเทพราช-ลาดกระบัง (ทางหลวงชนบท ฉช.3001)
ถนนสายรอง ได้แก่
- ทางหลวงชนบท สป.1005 (สีล้ง-บางพลีน้อย)
- ทางหลวงชนบท สป.2003 (แยกทางหลวงหมายเลข 34-ทางหลวงหมายเลข 7)
- ทางหลวงชนบท สป.6004 (บ้านนิยมยาตรา-บ้านคลองสวน)
- ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี
- ถนนเลียบคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต
คลองที่สำคัญ ได้แก่
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
- อัญชะลี ไพรีรัก
- กรุง ศรีวิไล
- พระครูพิพัฒนิโรธกิจ (ปาน)
- ศักดิชัย บำรุงพงศ์
- สดใส รุ่งโพธิ์ทอง
- ฝนทิพย์ วัชรตระกูล
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง[แก้]
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2349 สุนทรภู่ได้ล่องเรือผ่านมาตามลำคลองสำโรง เพื่อเดินทางไปหาบิดาที่บ้านกร่ำ (เขตอำเภอแกลง จังหวัดระยองปัจจุบัน) ระหว่างทางก็ได้บันทึกการเดินทางแต่งเป็นนิราศเมืองแกลง บรรยายถึงท้องถิ่นที่ผ่านมาตามทาง ซึ่งได้กล่าวถึงบางบ่อไว้ดังนี้
“ถึงบางบ่อพอจันทร์กระจ่างแจ้ง | ทุกประเทศเขตแขวงนั้นกว้างขวาง | ||
ดูดาวดาษกลาดฟ้านภาภางค์ | วิเวกทางท้องทุ่งสะท้านใจ | ||
ดูริ้วริ้วลมปลิวที่ปลายแฝก | ทุกละแวกหวาดหวั่นอยู่ไหวไหว | ||
รำลึกถึงขนิษฐายิ่งอาลัย | เช่นนี้ได้เจ้ามาด้วยจะดิ้นโดย | ||
เห็นทิวทุ่งวุ้งเวิ้งให้หวั่นหวาด | กัมปนาทเสียงนกวิหคโหย | ||
ไหนจะต้องละอองน้ำค้างโปรย | เมื่อลมโชยชื่นนวลจะชวนเชย | ||
โอ้นึกนึกแล้วก็น่าน้ำตาตก | ด้วยแนบอกมิได้แนบแอบเขนย | ||
ได้หมอนข้างต่างน้องประคองเชย | เมื่อไรเลยจะได้คืนมาชื่นใจฯ” |