เลียบวงแหวน แผ่นใส กระจก เลียบวงแหวน แผ่นใส กระจก : แผ่ […]
Category Archives: ถนนเลียบวงแหวน
ถนนเลียบวงแหวน
ถนนเลียบวงแหวน is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
ถนนเลียบวงแหวน
เป็นถนนแห่งหนึ่งในเขตทุ่งครุ
เขตทุ่งครุ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลักทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตราษฎร์บูรณะ มีลำรางสาธารณะ คลองกอไผ่ขวด ลำรางสาธารณะ คลองตาเทียบ คลองราษฎร์บูรณะ คลองข้างโรงเรียนขจรโรจน์ ลำรางสาธารณะ คลองแจงร้อน และลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางพึ่ง ลำรางสาธารณะ คลองขุดเจ้าเมือง และคลองรางใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางจาก คลองกะออมใน คลองท่าเกวียน คลองตาสน และคลองกะออมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน มีคลองรางแม่น้ำและคลองบางมดเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ความหมายของคำว่า “ทุ่งครุ” ตามพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 มิได้ให้ คำจำกัดความของคำว่า “ทุ่งครุ” ไว้เป็นการเฉพาะ แต่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “ทุ่ง” กับ “ครุ” ไว้ว่า “ทุ่ง” หมายถึง ที่ราบโล่ง “ครุ” หมายถึง ภาชนะสานชนิดหนึ่งใช้ตักน้ำรูปกลม ๆ ยาชัน เมื่อนำความหมายของคำจำกัดความทั้งสองมารวมกัน น่าจะหมายถึง “พื้นที่ราบโล่ง ใช้สาน ภาชนะตักน้ำรูปกลม ๆ ยาชัน” จากความหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในอดีตท้องที่เขตทุ่งครุ เป็นที่ราบโล่ง ลุ่ม มีแหล่งน้ำหลายแห่งเหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกร ทำสวนและมีฝีมือทางการจักสาน
ประวัติ[แก้]
เดิมทุ่งครุมีฐานะเป็น ตำบลทุ่งครุ ขึ้นอยู่กับอำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ต่อมาอำเภอราษฎร์บูรณะได้ถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดพระประแดงอยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่งจังหวัดนี้ถูกยุบลงเป็นอำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอราษฎร์บูรณะรวมทั้งตำบลทุ่งครุจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดธนบุรีอีกครั้ง และภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกชื่อตำบลและอำเภอใหม่ด้วย ตำบลทุ่งครุจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทุ่งครุ ขึ้นกับสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ จนกระทั่งวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง เขตทุ่งครุ ขึ้น โดยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตราษฎร์บูรณะออกมา 2 แขวง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ท้องที่สำนักงานเขตทุ่งครุแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยมีคลองราชพฤกษ์และคลองสะพานควายเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
บางมด | Bang Mot |
12.765
|
55,100
|
26,527
|
4,316.49
|
ทุ่งครุ | Thung Khru |
17.976
|
67,196
|
25,430
|
3,754.78
|
ทั้งหมด |
30.741
|
122,296
|
51,957
|
3,978.27
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตทุ่งครุ[2] |
||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2541 | 84,561 | แบ่งเขต |
2542 | 87,609 | +3,048 |
2543 | 90,427 | +2,818 |
2544 | 93,496 | +3,069 |
2545 | 97,164 | +3,668 |
2546 | 101,254 | +4,090 |
2547 | 104,827 | +3,573 |
2548 | 107,609 | +2,782 |
2549 | 110,469 | +2,860 |
2550 | 111,621 | +1,152 |
2551 | 113,008 | +1,387 |
2552 | 114,180 | +1,172 |
2553 | 115,131 | +951 |
2554 | 115,823 | +692 |
2555 | 116,523 | +700 |
2556 | 117,662 | +1,139 |
2557 | 119,349 | +1,687 |
2558 | 120,613 | +1,264 |
2559 | 120,976 | +363 |
2560 | 121,833 | +857 |
2561 | 122,296 | +463 |
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตทุ่งครุมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนประชาอุทิศ เริ่มต้นเข้าสู่เขตทุ่งครุ จากคลองข้างโรงเรียนขจรโรจน์ แขวงบางมด เนื่องมาจากแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ และไปสิ้นสุดเขตกรุงเทพมหานครที่คลองบางจาก
- ถนนกาญจนาภิเษก เริ่มต้นเข้าสู่เขตทุ่งครุ จากคลองรางแม่น้ำ (บางมด) แขวงทุ่งครุ เนื่องมาจากแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน และไปสิ้นสุดเขตกรุงเทพมหานครที่คลองขุดเจ้าเมือง ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ต่อไป
ทางสายรองได้แก่
- ถนนพุทธบูชา
- ถนนครุใน
- ถนนเลียบวงแหวน
- ซอยพุทธบูชา 36
- ซอยประชาอุทิศ 33
- ซอยประชาอุทิศ 69
- ซอยประชาอุทิศ 90
สถานที่สำคัญ[แก้]
มหาวิทยาลัย[แก้]
โรงเรียน[แก้]
- โรงเรียนวัดพุทธบูชา
- อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
- โรงเรียนนาหลวง
- โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
- โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
วัด[แก้]
- วัดทุ่งครุ
- วัดบางมดโสธราราม (กลางนา)
- วัดพุทธบูชา
- วัดหลวงพ่อโอภาสี
อื่น ๆ[แก้]